วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

GREEN MONITORING SERVICE CO., LTD.

ทรัพยากรน้ำ

โลกของเราประกอบขึ้นด้วยพื้นดินและพื้นน้ำ โดยส่วนที่เป็นฝืนน้ำนั้น มีอยู่ประมาณ 3 ส่วน (75%) และเป็นพื้นดิน 1 ส่วน (25%) น้ำมีความสำคัญอย่างยิ่งกับชีวิตของพืชและสัตว์บนโลกรวมทั้งมนุษย์เราด้วย

น้ำบนพื้นผิวโลก:น้ำเป็นสารประกอบที่มีอยู่เป็นจำนวนมากบนพื้นผิวโลก เมื่อรวมน้ำที่มีอยู่ในโลกทั้งสิ้นจะมีน้ำอยู่ประมาณ 1,360 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร ปริมาณน้ำทั้งหมดนี้เป็นน้ำเค็มที่อยู่ในมหาสมุทรถึงร้อยละ 97 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 3 หรือประมาณ 37 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร เป็นน้ำจืด แต่ปริมาณน้ำจืดส่วนใหญ่ประมาณ3 ใน 4 เป็นน้ำแข็งอยู่ในบริเวณขั้วโลก
นอกจากจะพบน้ำบนพื้นผิวโลกแล้ว Reid (1961 อ้างใน 4) ยังพบน้ำอีกส่วนหนึ่งในชั้น mantle ของเปลือกโลก น้ำในส่วนนี้มีปริมาณเป็น 16 เท่าของน้ำบนผิวโลก และไม่สามารถนำมาใช้ได้

น้ำเสีย หมายถึง น้ำหรือของเหลวที่มีสิ่งเจือปนต่าง ๆ ในปริมาณสูงจนกระทั่งเป็นน้ำที่ไม่ต้องการ และน่ารังเกียจสำหรับคนทั่วไป เป็นมลพิษทางทัศนียภาพและก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม และถ้าเข้าสู่ร่างกายจะเป็นสาเหตุหรือทำให้เกิดการเจ็บป่วยอย่างเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้

น้ำเสียมาจากแหล่งดังต่อไปนี้
1. น้ำเสียจากชุมชน เป็นน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของประชาชนในชุมชน โดยมีแหล่งกำเนิดมาจาก อาคารบ้านเรือน ร้านค้าพาณิชย์กรรม ตลาดสด ร้านอาหาร สถาบันการศึกษา สถานที่ราชการ โรงแรม โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
2. น้ำเสียจากอุตสาหกรรม เป็นน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นน้ำล้างในกระบวนการผลิตต่าง ๆ ซึ่งมีสมบัติแตกต่างกันตามประเภทของอุตสาหกรรม
3. น้ำเสียจากการเกษตร เป็นน้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมทางการเกษตร เช่นน้ำเสียจากการล้างคอกสัตว์เลี้ยง เช่น คอกหมู คอกวัว เล้าไก่ น้ำเสียจากนาข้าว จากฟาร์มเลี้ยงกุ้ง เป็นต้น โดยน้ำเสียจากเกษตรกรรม
ส่วนใหญ่จะปนเปื้อนสารเคมี ยาฆ่าแมลง หรือปุ๋ย

เรามีวิธีตรวจสอบน้ำเสียถึง 3 วิธี คือ ดูลักษณะทางกายภาพ ตรวจสอบทางชีวภาพ และตรวจสอบทางเคมี
ลักษณะทางกายภาพ คือ ดูด้วยตาเปล่าๆนั่นเอง หรือตรวจวัดอย่างง่ายๆ เช่น ความขุ่น อุณหภูมิ สี กลิ่น
ลักษณะทางชีวภาพ คือ การตรวจวัดจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในน้ำ
ลักษณะทางเคมี คือ ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Damage, BOD) ค่าซีโอดี สารอาหาร (Nutrient) และสารพิษต่างๆ (Toxic Substances) และโลหะหนัก

จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นนั้น น้ำมีคุณประโยชน์ แต่ก็มีโทษร้ายแรง ถ้าเราทุกคนไม่ช่วยกันดูแลรักษาไว้ให้ดี และท่านสามารถตอบได้ไหมว่า ... น้ำที่ท่านดื่มเข้าสู่ร่างกายอยู่ทุกวันนี้ปราศจากสารปนเปลื้อนหรือไม่ ? ถ้าท่านตอบไม่ได้ เรา GREEN MONITORING SERVICE CO., LTD. สามารถให้คำตอบ และให้คำปรึกษาท่านได้ ด้วยประสบการณ์ ด้วยห้องปฏิบัติการที่มีเครื่องมือวิเคราะห์ที่ทันสมัย และด้วยวิธีการตามมาตรฐานสากล และตามกฎระเบียบของทางราชกาล

ปัจจุบันสำนักงาน และห้องปฏิบัติการตั้งอยู่ที่
239/45 หมู่ 2 ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

บริหารงานโดย คุณพิศโสภา กิจจาหาญ (ตุ๊ก)
เบอร์โทร : 038-341441, 081-7782112
E-Mail : pissopa@green-monitoring.com


Open now on 21 January 2010
































ทรัพยากรน้ำนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์ มนุษย์เคยเข้าใจและคิดว่าน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมีอยู่ในวัฏจักรของน้ำนั้นมีเพียงพอแก่ความต้องการของมนุษย์อยู่เสมอ แต่มิได้เป็นเช่นนั้นเพราะปัญหาขาดแคลนน้ำยังคงเกิดขึ้นทุกหนทุกแห่ง และมีปัญหามากขึ้นตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ผลักดันให้ประเทศมีกิจกรรมที่มีความต้องการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้นทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และชุมชนต่างๆ ประเทศไทยจึงประสบกับวิกฤตการณ์เรื่องน้ำทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพได้แก่ การขาดแคลนน้ำ น้ำท่วม และมลพิษทางน้ำ ซึ่งเป็นปัญหาที่นำไปสู่ความเสียหายหลายด้านโดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งทางสังคมอันเนื่องจากการใช้น้ำและอาจนำไปสู่ปัญหาทางการเมืองต่อไป

เพราะในระบบการจัดการทรัพยากรน้ำของรัฐบาลยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอและยังมีข้อจำกัดอีกหลายประการ อาทิ ประสบปัญหาการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่มีมากถึง 30 หน่วยงานใน 8 กระทรวง เป็นต้น ซึ่งแนวทางของการจัดการทรัพยากรน้ำนั้นจะต้องมีการเน้นเรื่องการจัดการมากกว่าเน้นการจัดหาแหล่งน้ำให้พอเพียงกับความต้องการของประชาชนโดยยึดหลักการควบคุมอุปสงค์การใช้น้ำ และอนุญาตให้มีการเพิ่มอุปทานเพียงบางส่วนเท่าที่จำเป็นเท่านั้น คือ ให้มีการพัฒนาแหล่งน้ำด้วยวิธีการต่างๆ ที่เหมาะสม เนื่องจากประเทศไทยยังคงมีปริมาณน้ำที่มากและมีศักยภาพในการพัฒนาแหล่งน้ำสูงแต่การเก็บกักไม่เพียงพอกับความต้องการ ดังนั้นจึงควรให้มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อจำกัดอุปสงค์หรือลดปริมาณความต้องการใช้น้ำลงเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และให้มีการแก้ไขปัญหาน้ำเสียโดยจะต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษทางน้ำ และผู้ใช้น้ำเพื่อให้มีผลเป็นรูปธรรมชัดเจน นอกจากนี้ควรนำมาตรการลดข้อขัดแย้งในกลุ่มผู้ใช้น้ำมาดำเนินการควบคู่กันด้วย ซึ่งแนวทางหนึ่งที่สำคัญคือ การกระจายอำนาจสู่ประชาชนเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของตนเองและให้มีการตระหนักถึงความสำคัญของน้ำมากขึ้น